เครื่องเคาะสัญญาณเวลา (Ticker Tape Timer)

25 ก.พ.

เครื่องเคาะสัญญาณเวลา (Ticker Tape Timer)

         เครื่องเคาะสัญญาณเวลาเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดอัตราเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ในเวลาสั้น ๆ
ขณะ เครื่องเคาะสัญญาณเวลาทำงานแผ่นเหล็กสปริงจะสั่นทำให้เหล็กที่ติดปลายเคาะ
ลงไปบนแป้นไม้ที่รองรับเป็นจังหวะด้วยความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้เคาะ คือ 50 ครั้งใน 1 วินาที
ดังนั้น ช่วงเวลาระหว่างการเคาะครั้งหนึ่งกับครั้งถัดไปมีค่าเท่ากับ 1/50 วินาที
ช่วงเวลานี้จะคงที่เพราะความถี่ของไฟฟ้าที่ใช้ค่าคงที่ ช่วงเวลานี้บางครั้งเรียกว่า เวลา 1ช่วงจุด

เครื่องเคาะสัญญาณเวลา

เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ( Vernier Calipers )

25 ก.พ.

เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ( Vernier Calipers )

 

 

เวอเนีย ๓

เกี่ยวกับเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์

1.   ความเรียบของเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
มี 2 วิธีด้วยกันคือ ใช้ Knife Edge หรือ Standard straight Edge ส่องดูแสงที่ลอดออกจากปากจับ Knife Edge
หรือ Standard straight Edge เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความเรียบของผิวชิ้นงาน มีลักษณะเป็นเหล็กสามแฉกโดยจะระบุค่าความเรียบเอาไว้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์เกจบล็อก ใช้ทาบขนานกับปากจับแล้วดูแสงที่ลอดผ่านออกมา ถ้าไม่มีแสงลอดผ่านออกมาแสดงว่าความเรียบน้อยกว่าค่าความเรียบระบุของ Knife Edge หรือ Standard straight Edge ถ้าแสงลอดผ่านได้แสดงว่าความเรียบมากกว่าค่าความเรียบระบุของ Knife Edge หรือ Standard straight Edge
 2.  ความขนานของเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
ใช้เกจบล็อกมาตรฐานเกรด 2 หรือดีกว่า ที่ตำแหน่งต่างๆดังรูป ที่ 4 โดยลำดับเพื่อหาค่าความขนานจากผลต่างของ
3.   การตรวจความถูกต้องเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
ทำได้โดยการใช้เกจบล็อกมาตรฐานเกรด 2 หรือดีกว่า เลือกเกจบล็อกขนาดเล็กสุดไปจนถึงสูงสุดของช่วงวัด เพื่อให้
ครอบคลุมช่วงของการวัด เช่น เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ขนาด 150 มิลลิเมตร ใช้เกจบล้อกขนาด 0.10 จนถึง 150 มิลลิเมตร

 

http://site.oscool.com/blogs/view/3315

http://aamachinetools.tarad.com/article?lang=th

 

 

ไมโครมิเตอร์ ( Out Side Micrometer Caliper )

25 ก.พ.

 ไมโครมิเตอร์ ( Out Side Micrometer Caliper )

69 ไมโคร ๒

หลักการแบ่งสเกลค่าความละเอียด

         เมื่อหมุนเกลียวไป 1 รอบ = 1 ระยะพิตช์เกลียว (0.50 มม.)
ที่ปลอกหมุนวัดแบ่งออกเป็น 50 ขีด การเคลื่อนที่ของเกลียวจึงเป็น

        ถ้าหมุนเกลียว 1 รอบ (50 ขีด) เกลียวเคลื่อนที่ = 0.50 มม.
ถ้าหมุนเกลียว 1/50 รอบ (1 ขีด) เกลียวเคลื่อนที่ = 0.50/50 = 0.01มม.

ารอ่านค่าวัดจากไมโครมิเตอร์

อ่านค่าจากขีดสเกล 1.00 มม. = 5.00 มม.
อ่านค่าจากขีดสเกล 0.5 มม. = 0.50 มม.
อ่านค่าจากขีดสเกล 0.01 มม. = 0.19 มม.
อ่านค่ารวมได้เท่ากับ = 5.69 มม.
อ่านค่าจากขีดสเกล 1.0 มม. = 33.00 มม.
อ่านค่าจากขีดสเกล 0.5 มม. = 0.50 มม.
อ่านค่าจากขีดสเกล 0.01 มม. = 0.00 มม.
อ่านค่ารวมได้เท่ากับ = 33.50 มม.

ขั้นตอนการปรับตำแหน่งศูนย์ของไมโครมิเตอร์
1. หมุนแกนวัดให้สัมผัสกับแกนรับด้วยหัวหมุนกระทบเลื่อน และทำการล็อคแกนวัด ขนาดวัด 25 – 50 ขึ้นไป ต้องตรวจสอบกับเกจ บล็อก
2. ใช้ประแจตัว C เกี่ยวหมุนก้านสเกลให้ตรงขีดศูนย์ของปลอกหมุนวัด

เทคนิคการใช้ไมโคมิเตอร์                                                                                                                                                                    1. วัดชิ้นงานที่ผิวขนานกัน จะต้องให้แนวแกนรับและแกนวัดตั้งฉากกับผิวของชิ้นงาน
2. วัดชิ้นงานที่เป็นทรงกระบอก ต้องปรับหาค่าวัดที่ถูกต้อง
3. ในการวัดงานทุกครั้งควรใช้หัวหมุนกระทบเลื่อน
4. การอ่านตัวเลขบนสเกล ควรถือไมโครมิเตอร์ให้อยู่ในแนวตั้งฉากกับสายตา

วิธีการบำรุงรักษาไมโคมิเตอร์                                                                                                                                                              1. คารทำความสะอาดเครื่องมือวัดและชิ้นงานก่อนทำการวัด
2. ไม่ควรใช้ไมโครมิเตอร์กับชิ้นงานหยาบเกินไป                                                                                                                                  3. เมื่อต้องการหมุนเข้าออกอย่างรวดเร็ว ให้เลื่อนกับฝ่ามือ
4. ใช้หัวหมุนกระทบเลื่อนในการวัดชิ้นงานทุกครั้ง
5. เลือกไมโครมิเตอร์ที่มีขนาดเหมาะสมกับงาน
6. อย่าหมุนปลอกหมุนวัดออกมา เพราะอาจมีฝุ่นเข้าไปได้
7. อย่าวัดชิ้นงานที่กำลังเคลื่อนที่                                                                                                                                                          8. อย่าวัดชิ้นงานที่ร้อน เพราะจำทำให้ค่าวัดผิดพลาดได้
9. อย่าเก็บไมโครมิเตอร์รวมกับเครื่องมืออื่น ควรวางบนผ้านุ่ม
10. ควรตรวจสอบผิวสัมผัสแกนรับและแกนวัดอยู่เสมอ
11. ก่อนที่แกนวัดจะสัมผัสชิ้นงาน ควรหมุนหัวหมุนกระทบเลื่อนช้าๆ

http://honsupo.blogspot.com/

กระดาษกรอง ( filter paper )

25 ก.พ.

กระดาษกรอง filter paper

3010070 กระดาษกรอง ๑

 กระดาษกรอง (Filter paper) คือ กระดาษที่มีคุณสมบัติที่คัดเลือกอนุภาค หรือสิ่งเจือปนออกจากสารละลาย หรืออากาศโดยการวางแบบตั้งฉากกับทิศทางการไหลของสารละลายที่ต้องการจะกรองซึ่งมีขนาดของช่องว่างแตกต่างกันไปหลายขนาดด้วยกัน การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะงานแต่ละชนิด คุณสมบัติที่สำคัญของกระดาษกรองประกอบด้วย ความคงทนเมื่อเปียก ขนาดของช่องว่าง ความสามารถในการกรองอนุภาค อัตราการไหลของสารที่ต้องการกรอง ประสิทธิภาพและความจ

ในการกรองด้วยกระดาษกรองจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ     ปริมาตร(volume)อนุภาคจะถูกดักไว้ชั้นในหรือในตัวของกระดาษ และ  ผิว(surface)อนุภาคจะถูกดักไว้ที่ผิวของกระดาษกรอง

สำหรับกระดาษกรองที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ก็มีมากมายหลายแบบ  วัสดุที่นำมาใช้ทำกระดาษกรอง เช่น เส้นใยจากไม้ คาร์บอน หรือ เส้นใยแก้วควอทซ์ โดยใช้กระดาษกรองร่วมกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกรอง คือ กรวยกรอง หรือ กรวยบุชเนอร์

ในการทดลองเรื่องการหาน้ำหนักสารโดยวิธีการตกตะกอนนั้น จะต้องใช้กระดาษกรองแบบไม่มีเถ้า(Ashless) เพื่อป้องกันตะกอนที่ตกได้ มีการปนเปื้อนจากเถ้ากระดาษกรองที่เผาไหม้ไม่หมด นอกจากนั้นยังสามารถปรับคุณสมบัติของกระดาษกรองด้วยสารเคมีต่างๆ เพื่อใช้สำหรับการตรวจวัดพีเอช(pH) ตรวจการตั้งครรภ์ หรือ ตรวจเบาหวานได้อีกด้วย

 

http://glasswarechemical.com/materials/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87-filter-paper/

http://gammaco.com/gammaco/th/3010070

 

กระดาษลิตมัส ( Litmus )

25 ก.พ.

กระดาษลิตมัส ( Litmus )

X9422585-0 กระดาษ ๑

กระดาษลิตมัส
เป็นกระดาษที่ใช้ฝนการทดสอบสมบัติความเป็น
กรด-เบส –กลาง ของสารเราสามารถผลิดกระดาษลิตมัสได้เองโดยนำกระดาษสีขาวลงไปแช่น้ำคั้นดอกอัญชันจะได้กระดาษลิตมัสมีสีน้ำเงิน หากนำไปแช่ในน้ำคั้นดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูจะได้กระดาษลิตมัสสีแดง เมื่อตากแห้งก็สามารถนำทดสอบความเป็นกรด-เบส-กลาง

กรด เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง กรดทำปฏิกิริยากับโลหะและสารประกอบคาร์บอเนตได้แก๊สและทำให้โลหะและสารประกอบคาร์บอเนตผุกร่อน กรดโดยทั่วไปมีรสเปรี้ยว

เบส เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน ทำปฏิกิริยากับสารละลายฟินอล์ฟทา ลีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีจากไม่มีสีเป็นสีชมพูเข้ม สารละลายกรดและเบสนำไฟฟ้าได้

 

ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์(Universal Indicator)

15-4

 

       อินดิเคเตอร์ที่นำมาทดสอบค่า pH ได้ค่าที่ละเอียดมากขึ้นช่วง pH ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ ที่ทดลอง                                 สามารถบอกความเป็นกรดและเบสได้ชัดเจน ทำให้เราสามารถใช้คุณสมบัติความเป็นกรดและเบสดังกล่าวมาใช้                          ให้เกิดประโยชน์ และป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดในชีวิตประจำวันได้

 

http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2010/06/X9422585/X9422585.html

แบบทดสอบวัดและประเมินผลการเรียน

http://tc.mengrai.ac.th/Kristtika/page8.htm

 

บิวเรตต์ ( Burette )

25 ก.พ.

บิวเรตต์ ( Burette )

         veegee_burette 1

         บิวเรตต์ เป็นหลอดแก้วใสยาวปลายเปิด มีขีดบอกปริมาตรต่างๆ กำกับไว้และมีก็อกสำหรับเปิด-ปิดอยู่ทางปลายด้านล่าง  เพื่อควบคุมอัตราการไหลของสารละลาย  นิยมใช้ในการไทเทรต (titration)

การใช้บิวเรตต์ที่ถูกต้องควรปฏิบัติดังนี้

1. ก่อนนำบิวเรตต์ไปใช้ต้องล้างบิวเรตต์ให้สะอาดด้วยสารซักฟอกหรือสารละลาย ทำความสะอาด ล้างให้สะอาดด้วยน้ำประปาแล้วล้างด้วยน้ำกลั่นอีก 2-3 ครั้ง

1. ล้างบิวเรตต์ด้วยสารละลายที่จะใช้เพียงเล็กน้อยอีก 2-3 ครั้ง แล้วปล่อยให้สารละลาย นี้ไหลออกทางปลายบิวเรตต์

3. ก่อนที่จะเทสารละลายลงในบิวเรตต์ต้องปิดบิวเรตต์ก่อนเสมอ และเทสารละลายลงในบิวเรตต์โดยผ่านทางกรวยกรอง ให้มีปริมาตรเหนือขีดศูนย์เล็กน้อย เอากรวยออกแล้วเปิดก๊อกให้สารละลายไหลออกทางปลายบิวเรตต์ เพื่อปรับให้ปริมาตรของสารละลายอยู่ที่ขีดศูนย์พอดี (ที่บริเวณปลายบิวเรตต์จะต้องไม่มีฟองอากาศเหลืออยู่ หากมีฟองอากาศจะต้องเปิดก๊อกให้สารละลายไล่อากาศออกไปจนหมด)

4. ถ้าปลายบิวเรตต์มีหยดน้ำของสารละลายติดอยู่ ต้องเอาออกโดยให้ปลายบิวเรตต์แตะกับบีกเกอร์หยดน้ำก็จะไหลออกไป

5. การจับปลายบิวเรตต์ที่ถูกต้อง(ดังภาพ) หากใช้บิวเรตต์เพื่อการไทเทรต หรือการถ่ายเทสารในบิวเรตต์ลงสู่ภาชนะที่รองรับจะต้องให้ปลายบิวเรตต์อยู่ในภาชนะนั้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้สารละลายหก
6. เมื่อปล่อยสารละลายออกจากบิวเรตต์จนสารละลายลดลงถึงขีดบอกปริมาตรสุดท้ายของบิวเรตต์นั้น ๆ ต้องรีบปิดบิวเรตต์ทันที หากปล่อยให้สารละลายเลยขีดบอกปริมาตรสุดท้ายลงมา จะไม่ทราบปริมาตรที่แน่นอนของสารละลายที่ผ่านบิวเรตต์ลงมา

อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้สารละลายที่มีจำนวนมาก และใช้บิวเรตต์ในการถ่ายเท เมื่อปล่อยสารละลายจนถึงขีดบอกปริมาตรสุดท้ายแล้ว ต้องปิดบิวเรตต์ก่อน แล้วจึงเติมสารละลายลงในบิวเรตต์ ปรับให้มีระดับอยู่ที่ขีดศูนย์ใหม่ ต่อจากนั้นก็ปล่อยสารละลายลงมาจนกว่าจะได้ปริมาตรตามต้องการ

 

http://rachelwong-ace.blogspot.com/2010/03/comparison-between-pipette-burette-and.html

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5dc2b320eaf98990

http://www.school.net.th/library/snet5/tburet.html

 

แท่งแก้ว ( Stirring Rod )

25 ก.พ.

                        แท่งแก้ว ( Stirring Rod )

stirring_rod ๑

rod0แท่งแก้ว 2

  แท่งแก้วคนสารใช้สำหรับการคนสารละลายให้ผสมเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ หรือใช้เมื่อจะเทสารละลายจากภาชนะหนึ่งลงในภาชนะอีกชนิดหนึ่ง โดยจะเทสารละลายให้ไหลไปตามแท่งแก้วคนสาร แท่งแก้วคนสารที่มียางสวมอยู่อีกปลายด้านหนึ่ง เรียกว่า Policeman จะใช้สำหรับปัดตะกอนที่เกาะอยู่ข้าง ๆ และถูภาชนะให้ปราศจากสารต่าง ๆ ที่เกาะอยู่ข้าง ๆ ซึ่งยางสวมนั้นต้องแน่น

การใช้แท่งแก้ว

 1.  การกวนสารละลายด้วยแท่งแก้ว เป็นการกวนของแข็งให้ละลายในเนื้อเดียวกันกับสารละลายหรือเป็นการกวนให้สารละลายผสมกันโดยใช้แท่งแก้ว การกวนสารละลาย ต้องกวนไปในทิศทางเดียว และระวังอย่าให้แท่งแก้วกระทบกับข้างหลอดทดลองหรือก้นหลอดทดลอง เพราะจะทำให้หลอดทดลองทะลุได้ หากเป็นการผสมสารละลายที่มีจำนวนมากก็ควรใช้ปีกเกอร์แทนหลอดทดลองและใช้เทคนิคการกวนสารละลายเช่นเดียวกัน

 2.  การหมุนสารละลายด้วยข้อมือ เป็นเทคนิคการผสมสารละลายในหลอดทดลอง กระบอกตวงหรือฟลาสให้มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันทุกส่วนวิธีหนึ่ง โดยใช้มือจับทางส่วนปลายของอุปกรณ์ดังแล้วหมุนด้วยข้อมือให้สารละลายข้างในไหลวนไปทิศทางเดียวกัน

การใช้แท่งแก้วคนสาร

http://glasswarechemical.com/glassware/stirring-rod/

http://nbschoolscitool.tripod.com/rod.htm

ขวดชั่งสาร (Weighing bottles)

24 ก.พ.

ขวดชั่งสาร (Weighing bottles)

p_bottle ขวดชั่ง๑

         ขวดชั่งสาร เป็นอุปกรณ์เครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ใช้สำหรับการชั่งสารที่เป็นของแข็งให้มีความถูกต้องมากกว่าการชั่งแบบทั่วไป  ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ววัสดุที่ใช้ผลิตขวดชั่งสารทำมาจากแก้วที่บางและแตกง่าย หรือบางครั้งอาจใช้วัสดุที่ทำจากเซรามิก หรือ พลาสติก รูปร่างรูปทรงขวดชั่งสารนั้นจะแตกต่างกันไป

รูปร่างของขวดชั่ง
ที่นิยมมี 2 ลักษณะ คือ
1. แบบทรงเตี้ย (flat glass dish) และมีฝาปิด ใช้ในกรณี การชั่งสารที่ดูดความชื้นได้รวดเร็ว หรือสารที่สลายตัวได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับความชื้นในอากาศ ต้องชั่งในสภาวะที่ไม่มีอากาศ ระบบปิดที่เป็นบรรยากาศของไนโตรเจน
2. แบบทรงสูง (A tall-shape dish) มีฝาปิด ใช้ในการชั่งสารได้โดยตรงโดยไม่ต้องใช้กรวยช่วย

 

http://glasswarechemical.com/glassware/%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3weighing-bottle/

http://www.school.net.th/library/snet5/bottle.html

 

กระจกนาฬิกา ( Watch grass )

24 ก.พ.

กระจกนาฬิกา ( Watch grass )

p_grass ๑         กระจกนาฬิกา ( Watch grass ) นั้นจะมีรูปทรงคล้ายกระจกนาฬิกาเรือนกลม มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความยาว ของเส้นผ่าศูนย์กลางของกระจก

         ซึ่งกระจกนาฬิกานั้นใช้สำหรับปิดบีกเกอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อป้องกันสารอื่น ๆ หรือฝุ่นระออง   ตกลงไปในสารละลายที่บรรจุอยู่ในบีกเกอร์และใช้เพื่อป้องกันการกระเด็นของสารละลายออกจากบีกเกอร์เมื่อทำการทดลอง เช่น การต้มสาร

http://www.school.net.th/library/snet5/grass.html

กรวยกรอง ( Funnel )

24 ก.พ.

กรวยกรอง ( Funnel)

p_funnel ๑

ลักษณะของกรวยกรอง

         กรวยกรองเป็นอุปกรณ์ที่ใช้คู่กับกระดาษกรอง ( Filter Paper) ในการแยกของแข็งออกจากของเหลวและมักจะใช้สำหรับสวมบิวเรทเมื่อจะเทสารละลายลงในบิวเรต

         มีทั้งแบบก้านสั้นและก้านยาว กรวยก้านยาวจะกรองได้เร็วกว่ากรวยก้านสั้น ขนาดของกรวยกรองจะใหญ่หรือว่าเล็กขึ้นอยู่กับความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลาง

http://www.school.net.th/library/snet5/funnel.html